คู่มือการตั้งค่า Universal Repeater Mode ( Extender )




Tenda Router Wireless Series

W309R+/ FH303+/FH303 / F3 / FH305 / N301 / N150




          1. เกริ่นนำและการประยุกต์ใช้


สำหรับโหมด Universal Repeater ใน FH303, FH305, N301, N150 เป็นหนึ่งในโหมดสำหรับใช้ในการทวนสัญญาณ หรือ ขยายสัญญาณ Wireless จาก AP ตัวหลัก เหมือน WISP Mode แต่ต่างกันที่วัตถุประสงค์ในการใช้งาน โดย WISP Mode จะขยายเพื่อใช้งาน Internet เป็นหลัก เพราะเซตง่ายกว่า และสามารถนำไปใช้รับและแชร์ต่อ Internet จาก Hotspot ตามหอพัก หรือจากมือถือ ก็ได้เป็นต้น
ส่วน Universal Repeater เป็น Mode สำหรับโหมดสำหรับขยายสัญญาณเพื่อใช้งาน Internet และหรือแชร์ไฟล์ระหว่างเครื่อง Computer ในระบบ LAN, แชร์ Printer, Print Server, ดูกล้อง DVR หรือ IP Camera คือ ให้ IP Address เป็นวงเดียวกัน เป็นต้น



     สำหรับ FH303, FH305, N301, N150 จะรองรับโหมด Client Bridge ในตัวอยู่แล้ว แต่จะทำงานเป็น Access Point + Router ไปด้วย ซึ่งมีความสามารถมากกว่า Client Bridge โดยจะเรียกรวมว่าโหมด Client + AP + Router หรือ WISP นั่นเอง สำหรับ WISP โหมดนั้น จะทำงานคล้ายกับ Repeater โหมด แต่จะมีการเพิ่มความสามารถของ Router เข้ามาด้วย สามารถทำหน้าที่เป็นตัวแจก DHCP, แชร์ Internet, Forward Port, Block การใช้งาน Internet และจำกัด Bandwidth ได้ในการทำงานโหมดเดียว เซตตั้งค่าง่ายกว่า แล้วก็สามารถทวนสัญญาณ Wireless จาก Access Point ตัวหลักได้เหมือน Client Bridge, Client + AP หรือ Universal Repeater ที่คุ้นเคยกัน ดังรูป

IP Address ของ AP ตัวหลัก หรือ Gateway ควรเป็นคนละวง กับ FH303, FH305, N301, N150 เช่น AP ตัวหลัก หรือ Gateway เป็น 192.168.1.1 ส่วน IP ของ FH303, FH305, N301, N150 เป็น 192.168.0.1 ( ถ้า IP ชนกัน ให้ดูวิธีเปลี่ยน IP ในหัวข้อสุดท้ายครับ )



     2. เตรียมตัวก่อนตั้งค่า WISP Mode



          2.1 เตรียมรหัสผ่านของ Wireless ตัวหลัก และควรทราบประเภทของ Security ว่าเป็น WEP64/128bits, WPA, WPA2, TKIP หรือ AES โดยใน 2 ตัวอย่างด้านล่างคือการแนะนำวิธีการตรวจสอบจาก Wireless ตัวหลักครับ


ตัวอย่างที่ 1 : การตรวจสอบ Wireless Security ใน D-Link ครับ



ตัวอย่างที่ 2 : การตรวจสอบ Wireless Security ใน TP-Link ครับ




     3. เริ่มต้นการตั้งค่า Universal Repeater Mode


          3.1 เริ่มต้นด้วยการเสียบสาย ระหว่าง FH303, FH305, N150, N301 กับ เครื่อง Computer PC ในครั้งแรกนะครับ

( จะไม่มีสายระหว่าง FH303, FH305, N301, N150 กับ Wireless AP หรือ Router ตัวหลัก )



          ต่อไป ให้ทำการ Fix IP Address ของ Local Area Connection ด้วยครับ เช่น 192.168.0.5 กับ Subnet Mask แค่นั้นครับ ( ไม่ต้องใส่ Default Gateway และ DNS เพราะว่าเดี๋ยวเสร็จก็จะเซตกลับให้เป็น Obtain an IP Address อยู่แล้ว )



          3.2 เปิด Browser เช่น IE, Google Chorme หรือ Firefox ขึ้นมา แล้วพิมพ์ http://192.168.0.1 ตรงช่อง Address แล้วกดปุ่ม Go หรือกดปุ่ม Enter ครับ ดังรูป




     มีหน้าขึ้นมาให้ Login ให้กรอกตรงช่อง Password เป็น admin ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด


          3.3 จะเข้าหน้า Setup Wizard ของ Tenda ตรงนี้ ให้ข้ามในส่วนของการเลือก Internet Connection Type เลยครับ และไปตั้งชื่อ SSIDให้กับตัว Repeater ( 1 ) กับรหัสผ่าน Wireless ตามที่ต้องการ ( 2 ) ( ตั้งรหัสผ่าน Wireless เป็นตัวเลขหรือตัวอักษร หรือผสมกันก็ได้ ขั้นตํ่า 8 ตัวครับ ) แล้วกดปุ่ม OK ( 3 ) ครับ
ตัวอย่างการตั้งชื่อ Wireless ให้กับตัว Repeater





** ในบาง Firmware Version ของสินค้ารุ่น FH303, N150, N301 นั้น อาจจะไม่มีให้เปลี่ยนชื่อ SSID ให้ดูวิธีเปลี่ยน ตามหมายเหตุข้อ 4


          3.4 จากนั้นจะมีหน้าต่างเล็ก ๆ แจ้งขึ้นมาประมาณว่า รหัสผ่าน Wireless ถูกเปลี่ยนใหม่แล้ว ให้กดปุ่ม OK ยืนยันอีกครั้งหนึ่ง



** ถ้าเคยเซตค่าจากหน้า Quick Setup แล้ว คราวหน้าเข้ามา Quick Setup อีก ให้กดปุ่ม Advanced Setting ที่อยู่มุมขวาบนเลยครับ

          3.5 หน้า Web จะพาเข้ามาหน้าการตั้งค่าขั้นสูงอัตโนมัติ โดยหน้าแรกที่เข้ามาจะเป็นหน้า System Status ครับ ให้คลิกเมนู Wireless ( 6 ) แล้วคลิกเลือกเมนูย่อยด้านซ้ายมือ Wireless Extender ( 7 )
หลังจากเข้ามาหน้า Wireless Extender แล้ว ให้เลือก Extender Mode เลือกเป็น WISP Mode ( 8 ) ต่อไปก็คลิกที่ปุ่ม Open Scan ( 9 ) เพื่อค้นหาชื่อ SSID ของ AP ที่ต้องการทวนสัญญาณ (ในที่นี้หมายถึง Wireless ตัวหลักที่บ้าน, ที่ทำงาน หรือ Hotspot นะครับ )




          3.6 รอสักครู่ จะมี List SSID ของ AP ที่กระจายอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ที่ FH303, FH305, N301, N150 สามารถจับสัญญาณได้ แสดงขึ้นมาในตาราง โดยจะมีชื่อ, MAC Address, Channel, Security Mode และ Signal Strength ตามตัวอย่างครับ

** ชื่อ SSID ที่แสดงขึ้นมา จะมีแตกต่างกันตามพื้นที่นะครับ ไม่ใช่ว่า ชื่อ SSID ในตารางจะเหมือนกับในตัวอย่างเป๊ะครับ




          3.7 ให้คลิกเลือกชื่อ SSID ที่ต้องการเชื่อมต่อ ( 10 ) ในตัวอย่าง สมมติ ว่า AP ตัวหลักตั้งชื่อไว้ว่า “ Plentycomputer “ ในหน้านี้ก็ให้เลือกชื่อ “ Plentycomputer ” ที่เป็นชื่อ Wireless ตัวหลักที่ต้องการ Repeat สัญญาณ ( SSID ของตัวหลัก ในตัวอย่าง กับของผู้ใช้ จะไม่เหมือนกัน แล้วแต่สถานะที่นะครับ ) เสร็จแล้วจะมีหน้าต่างขึ้นมาถาม ก็ให้ กดปุ่ม OK ยืนยัน ( 11 ) ดังรูป




*Signal Strength ที่จะเกาะนั้น ค่าไม่ควรเกิน 75 ขึ้นไป ถ้าค่าเกิน 75 อาจจะทำให้เกาะกันไม่ติด หรือเกาะติดช้า หรือได้บ้างไม่ได้บ้าง*

          3.8 หลังจากนั้น ค่าของ AP ตัวหลัก ที่ได้เลือกไว้ จะถูกกรอกในช่องด้านบนคือ SSID, Channel อัตโนมัติ เหลือแค่ผู้ใช้ เลือก Security Mode ให้ตรงกับที่ตั้งไว้ในตัวหลักที่ได้จากข้อ 2 แล้วก็ให้กรอก รหัสผ่าน Wireless ของ AP ตัวหลัก ในช่อง “ Security key “ หรือ “ WEP Key 1 “ ให้ถูกต้องครับ โดยการกรอกรหัสผ่านจะแยกเป็น Security Mode แบบ WPA-PSK, WPA2-PSK หรือ แบบ WEP ดังรูป



     ตัวอย่างรูปแสดง กรณีที่ตัวหลักตั้งรหัสผ่านเป็นแบบ WPA-PSK หรือ WPA2-PSK จะมีให้กรอกแค่ Security Key เท่านั้น






     ตัวอย่างรูปแสดง กรณีที่ตัวหลักตั้งรหัสผ่านเป็นแบบ WEP จะต้องตรวจสอบว่าเป็น ASCII หรือ HEX ด้วย ดังรูป






          3.9 หลังจากตั้งค่าตามข้อ 3.7 หรือ 3.8 เรียบร้อยแล้ว กดปุ่ม Apply จะมีหน้าต่างให้กดปุ่ม OK ยืนยันเพื่อบันทึกค่า





ตัวอุปกรณ์จะทำการ Reboot จนครบ 100% ครับ




          3.10 กลับมาที่หน้า Setup Wizard อีกครั้ง ให้คลิก Advanced Settings อีกครั้งเพื่อกลับไปตรวจสอบ Status ของการเชื่อมต่อ






     หรือถ้าไม่กลับมาหน้า Quick Setup อัตโนมัติ ก็ให้พิมพ์ IP Address http://192.168.0.1 ตรงช่อง Address แล้วกดปุ่ม Go หรือกดปุ่ม Enter ครับ ดังรูป




          3.11 ในหน้า Status จะขึ้น WAN Status ว่า Disconnected ดังรูป ก็ไม่ต้องตกใจนะครับ เพราะ Universal Repeater Mode นั้น จะไม่ใช้ WAN ในการเชื่อมต่ออยู่แล้วครับ




          3.12 ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนแรกสำหรับการเซต Universal Repeater Mode ครับ แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์นะครับ ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปคือการตรวจสอบว่า สามารถเชื่อมต่อกับ AP ตัวหลักได้แล้วหรือไม่ครับ

     4. ขั้นตอนการเปลี่ยน IP Address ของ FH303, FH305, N301, N150



     การเปลี่ยน IP Address ของ FH303, FH305, N301, N150 ในโหมด Universal Repeater นั้น เพื่อให้สามารถเข้ามาจัดการได้ง่ายขึ้นครับ ( จริง ๆ ไม่เปลี่ยน IP Address ก็ได้ ไม่มีผลกับการใช้งาน หรือ Internet แต่อย่างใด แต่จะลำบากในเข้าหน้าตั้งค่าในครั้งต่อไป )

          4.1 เปิด Web Browser เช่น Internet Explorer, Google Chorme หรือ Firefox ขึ้นมา แล้วพิมพ์ http://192.168.0.1 ตรงช่อง Address ดังรูป แล้วกดปุ่ม Go หรือ Enter


          4.2 จากหน้า Setup Wizard หลัก ให้คลิกที่ Advanced Settings เพื่อเข้าสู่หน้าการตั้งค่าขั้นสูง ดังรูป




          4.3 หลังจากเข้ามาหน้าการตั้งค่าขั้นสูงแล้ว ให้คลิกที่เมนูย่อย LAN Settings ( 12 ) แล้วเปลี่ยน IP Address เดิมจาก 192.168.0.1 ในช่อง IP Address หมายเลข IP Address อื่น ที่อยู่ใน Subnet เดียวกันกับตัวหลัก เช่น ตัวหลักเป็น IP Address 192.168.1.1 ก็ให้เปลี่ยน IP Address ของ FH303, FH305, N301, N150 เป็น 192.168.1.254 เป็นต้น แล้วกดปุ่ม OK ( 14 ) ดังรูป




          4.4 จะขึ้นหน้าต่างแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับผลของการเปลี่ยน IP Address ให้กดปุ่ม OK เพื่อยืนยัน และอุปกรณ์จะ Reboot ใหม่




          4.5 รออุปกรณ์ Reboot ให้ครบ 100% ครับ





          4.6 เสร็จแล้วให้สลับมาที่ Windows เพื่อเปลี่ยน IP Address ของ Local Area Connection จากที่ Fix IP Address ไว้ กลับไปเป็นการรับ IP Address แบบ Auto หรือ Obtain an IP address โดยเข้าไปที่ Local Area Connection Properties > Internet Protocol Version 4 ( TCP/IPv4 ) ตามรูปตัวอย่าง




     5. การตรวจสอบสถานะของ Repeater



          5.1 ให้ไปที่ Local Area Connection Status > Tab Support ( สำหรับ Windows XP ) หรือ Local Area Connection Detail ( สำหรับ Windows Vista, 7 ) เพื่อดูว่าได้รับ IP Address มาหรือยัง ถ้าได้รับ IP Address จาก Router มาเหมือนตัวอย่าง ก็แปลว่าสามารถทำ Universal Repeater สมบูรณ์ เรียบร้อยแล้ว

     **แต่ถ้ายังไม่ได้รับ IP Address Auto ก็ให้ทำการ Reset ค่าของ FH303, FH305, N301, N150 ให้เป็นค่าจากโรงงานแล้ว กลับไปทำตามขั้นตอน 3.2 ใหม่อีกครั้ง จนสามารถรับ IP Address Auto จา ก Router ได้ครับ





          5.2 ในครั้งต่อไปที่จะเข้าหน้าการตั้งค่าของ FH303, FH305, N301, N150 หลังจากเปลี่ยน IP Address แล้ว ต้องกรอก IP Address หมายเลขใหม่ในช่อง Address Bar เพื่อเข้าสู่หน้าการตั้งค่าครับ




** ถ้าจำ IP Address ไม่ได้จริง ๆ ก็ต้อง Reset ค่ากลับเป็นค่าจากโรงงาน


     หมายเหตุ 1 : กรณีที่ IP Address ของวงหลักเป็น 192.168.0.xxx :


     กรณีนี้ให้ผู้ใช้เปลี่ยนแค่ ตัวเลข ตัวสุดท้าย ที่เป็นหมายเลข IP โดยอาจจะเป็น IP ที่ยังว่างอยู่ หรือยังไม่มีเครื่องไหนใช้ เพื่อไม่ให้ IP Address ของ FH303, FH305, N150, N301 ไปชนกันกับ Modem Router หรือ อุปกรณ์อื่นในระบบ Network ครับ



** สำหรับ Subnet Mask นั้น ให้อ้างอิง 255.255.255.0 นะครับ ไม่ว่าองค์กร หรือ บริษัท นั้น ๆ จะใช้ Subnet Mask แบบอื่น ก็ตามครับ เพราะว่า FH303, FH305, N150, N301 ไม่ได้มีผลต่อการออกเน็ตใด ๆ ครับ


     หมายเหตุ 2 : กรณีที่กด ปิด DHCP Server แล้วไม่สามารถเข้าหน้าตั้งค่า หรือ คลิกเมนูไหนได้


     ปัญหานี้เป็นจากหลังปิด DHCP แล้ว FH303, FH305, N150, N301 ก็ไม่ได้จ่าย IP Address ให้กับเครื่อง Computer ทำให้เครื่อง Computer ไม่ได้รับ IP Address จึงทำให้ไม่สามารถเซตตั้งค่าต่อได้ครับ ตรงนี้ ต้องแก้ด้วยการ Fix IP ให้กับเครื่อง Computer ดังนี้

- คลิกปุ่ม Start ของ Windows > ไปที่ เมนู Control Panel > ต่อด้วยดับเบิ้ลคลิก ไอคอน Network Connection ( สำหรับ XP )
- สำหรับ Windows 7 ให้คลิกที่ Network and Sharing Center แล้วคลิก เมนูด้านซ้ายตรง Change Adapter Setting
- หลังจากเข้าหน้า Network Connection ได้แล้วให้คลิกขวาที่ไอคอน Local Area Connection แล้วเลือก Properties




- จะเข้ามาหน้า Loacal Area Connection Properties ก็ให้คลิกบรรทัด Internet Protocol Version 4 ( TCP/Ipv4 ) เลือก Properties แล้วเลือกเป็น “ Use the following IP address : “ แล้วกรอกค่า IP Address ตามรูปตัวอย่างครับ ( หรือจะต่างจากตัวอย่างก็ได้ครับ ขอให้ตัวสุดท้ายเป็นเลข ตั้งแต่ 2 - 254 ) กรอก IP เสร็จแล้ว คลิกบรรทัด Subnet Mask ก็จะมี หมายเลขขึ้นมาเองครับ แล้วกดปุ่ม OK เสร็จแล้วให้กดปุ่ม OK ซํ้า และสุดท้ายกดปุ่ม Close ครับ




     หมายเหตุ 3 : กรณียกเลิกการ Fix IP Address ของ Local Area Connection

     หลังจากตั้งค่า FH303, FH305, N150, N301 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้ใช้กลับเข้ามาหน้า Internet Protocol Version 4 properties เพื่อเลือกให้ LAN ของเครื่อง Computer รับ IP Addres Auto เหมือนเดิม โดยเลือก “ Obtain an IP address …. “ แล้ว กดปุ่ม OK เสร็จแล้ว OK ซํ้า แล้ว กด Close




     หมายเหตุ 4 : กรณีเปลี่ยนชื่อ SSID สำหรับ FH303, N150 และ N301 บาง Firmware Version
โดยปรกติแล้ว การเปลี่ยนชื่อ SSID หรือชื่อ Wireless นั้น จะสามารถเปลี่ยนได้จากหน้า Quick Setup หน้าแรก แต่ถ้าในบางครั้ง อุปกรณ์ รุ่นที่ใช้ ไม่มีให้เปลี่ยน ชื่อ SSID ในหน้า Quick Setup ดังรูป




     ให้เข้ามาหน้า Advanced แล้วไปที่เมนูหลักด้านบน Wireless ต่อด้วยเมนูด้านซ้าย Wireless Basic Settings แล้วเปลี่ยนชื่อ SSID ของตัว Tenda ที่ต้องการในช่อง Secondary SSID ครับ เสร็จแล้วกดปุ่ม OK ก็เป็นอันเสร็จขึ้น ขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อ SSID แล้วครับ




**เท่านี้ก็เสร็จสิ้นขั้นตอนการตั้งค่า Repeater ในโหมด Universal  แล้วครับ **



**************** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่เบอร์ 02-3123641 – 6 ( 6 คู่สายอัตโนมัติ ), 086-3697855 *****************